พิษนาศน์

ชื่อเครื่องยา

พิษนาศน์

ชื่ออื่นๆของเครื่องยา

ได้จาก

เหง้า

ชื่อพืชที่ให้เครื่องยา

พิษนาศน์

ชื่ออื่น(ของพืชที่ให้เครื่องยา)

แผ่นดินเย็น นมราชสีห์ น้ำนมราชสีห์ ปันสะเมา พิษหนาด สิบสองราศี

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sophora exigua Craib

ชื่อพ้อง

Sophora violacea var. pilosa

ชื่อวงศ์

Fabaceae

ลักษณะภายนอกของเครื่องยา:

            รากมักมีขนาดใกล้เคียงกัน หลายราก กลม ค่อนข้างยาว 20-30 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ผิวรากชั้นนอกสีออกม่วงดำ หรือสีเทาปนดำ หลุดลอกง่าย ผิวเปลือกรากชั้นในสีส้ม หรือสีน้ำตาลส้ม บริเวณผิวเปลือกรากมีลักษณะเด่นเฉพาะ  มีรอยตามขวาง สั้นๆ สีส้ม คล้ายรอยปริแตก ที่ผิวราก ตลอดความยาวของราก

 

 

เครื่องยา พิษนาศน์

 

เครื่องยา พิษนาศน์

 

 

เครื่องยา พิษนาศน์

 

 

ลักษณะทางกายภาพและเคมีที่ดี:

           ไม่มีข้อมูล

 

สรรพคุณ:

            ตำรายาไทย ราก รสจืดเฝื่อนซ่า ต้มเอาน้ำดื่ม ขับพิษภายใน ขับน้ำ แก้ฟกบวมตามข้อ ตามกล้ามเนื้อ แก้คางทูม

            ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  ใช้  รากฝนกับน้ำดื่ม ช่วยลดไข้ในเด็ก ฝนทาแก้พิษงู (ต้องว่าคาถาด้วย) ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนม (กินมากไม่ดี) ราก ฝนน้ำทาแก้ฝี

            บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศ คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ระบุการใช้เหง้าพิษนาศน์ร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ ใน “ตำรับยาเขียวหอม”  สรรพคุณ บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัด และอีสุกอีใส)

 

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:

         ไม่มีข้อมูล

 

องค์ประกอบทางเคมี:

        ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางเภสัชวิทยา:

       ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย

      การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากรากพิษนาศน์ด้วยเฮกเซน เอทิลอะซีเตต และเมทานอล ต่อเชื้อแบคทีเรีย 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Escherichia coli O157:H7, Listeria monocytogenes, Pseudomonas aeruginosa, Salmonella typhimurium และ Staphylococcus epidermidisn  ด้วยวิธี agar diffusion ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดเอทิลอะซีเตต มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Pseudomonas aeruginosa และ Staphylococcus epidermidis โดยมีค่าเฉลี่ยเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อเท่ากับ 18.75±0.43 และ 20.00±0.50 มิลลิเมตร ตามลำดับ สารสกัดเมทานอล มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Staphylococcus epidermidis โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางการยับยั้งเท่ากับ 14.00±0.00 มิลลิเมตร เนื่องจากการติดเชื้อ P. aeruginosa อาจเป็นสาเหตุของอาการมีไข้ เจ็บคอแบบมีเสมหะเขียว การติดเชื้อแบคทีเรียสกุล Staphylococcus อาจเป็นสาเหตุของการเกิดฝีหนองได้ ผลการทดลองจึงสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้รากพิษนาศน์ฝนน้ำดื่มรักษาอาการเป็นไข้ อมแก้เจ็บคอ และใช้รากฝนน้ำทารักษาฝี สารสกัดหยาบเอทิลอะซีเตต และสารสกัดหยาบเมทานอลมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ แต่สารสกัดหยาบเฮกเซนไม่มีฤทธิ์ดังกล่าว แสดงว่าสารออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของรากพิษนาศน์เป็นสารที่มีขั้วปานกลาง และมีขั้วมาก (สมฤดี และคณะ, 2557)

 

 

การศึกษาทางคลินิก:

       ไม่มีข้อมูล

 

การศึกษาทางพิษวิทยา:

 

เอกสารอ้างอิง:

สมฤดี ศรีทับทิม,สุมลรัตน์ กระพี้แดง, นิคม วงศา. ฤทธิ์ทางชีวภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดพืชสมุนไพรที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย.วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต (มสด) สาขาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. 2557;7(1):21-39.

 

ค้นหาข้อมูลพืชที่ให้เครื่องยา: www.phargarden.com

ตัวอย่างพรรณไม้แห้ง: www.thaiherbarium.com

ข้อมูลตำรับยาเขียวหอม : www.thai-remedy.com


Copyright © 2010 thaicrudedrug.com All rights reserved.

Appsthailand Hosting